เหตุเพลิงไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร

ยังมีการรายงานโรงงานอุตสาหกรรมอาหารเกิดเหตุเพลิงไหม้ แม้ว่าทั่วโลกจะมีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นในการป้องกัน เหตุจากการเกิดไฟไหม้ สืบเนื่องมาจากแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ติดตั้งติดไฟได้ และจำนวนสปริงเกอร์ที่ติดตั้งไม่เพียงพอ

วัน Easter ของปี 2016 เกิดเหตุไฟไหม้โรงงาน Wiesenhof ในเมือง Lohne ของประเทศเยอรมนี Wiesenhof ซึ่งเป็นโรงงานแปรรูปสัตว์ปีกรายใหญ่ที่สุดของยุโรป บริษัทฯ ไม่ได้ประกันกับ FM Global จากเหตุการณ์ไฟไหม้ ทำให้โรงงานต้องหยุดการผลิต พนักงาน 1,200 คนถูกเลิกจ้าง การแปรรูปสัตว์ปีกที่มากถึง 370,000 ตัวต่อวันต้องโยกไปผลิตที่โรงงานในเครือ ความเสียหายจากไฟไหม้เป็นพื้นที่กว้างเกือบ 183,000 ตารางฟุต (17,000 ตารางเมตร) ก่อให้เกิดความสูญเสียคิดเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์

ไฟไหม้ครั้งนี้ถือว่าเป็นการตอกย้ำถึงแนวโน้มการเกิดเพลิงไหม้ในอุตสาหกรรมอาหารที่เกิดขึ้นได้ สำหรับ Wiesenhof มันคงไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่านี้ เมื่อปีก่อน ก็ได้เกิดเหตุไฟไหม้ลักษณะคล้ายกันนี้ที่โรงงาน Bogen

ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับ Wiesenhof เท่านั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ ก็เกิดเหตุไฟไหม้โรงงานแปรรูปเนื้อหมูและเนื้อวัว Paderborn ของ Westfleisch ในเยอรมนี ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ และทำให้พนักงาน 157 คนตกอยู่ในความเสี่ยงจะตกงาน ในปี 2014 โรงงานแปรรูปแฮมขนาดใหญ่ของ Campofrío ในเมือง Burgos ประเทศสเปน ก็ถูกไฟไหม้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจท้องถิ่นของเมือง คนงานในท้องถิ่นเกือบ 1,000 คนต้องพึ่งพารายได้จากโรงงานแห่งนี้ โรงงานได้เปิดทำการอีกครั้งก็ในปลายปี 2016 นอกจากนี้ ยังเกิดเหตุไฟไหม้โรงงานแปรรูปมันฝรั่งที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของยุโรป Clarebout Potatoes ที่ Nieuwkerke ประเทศเบลเยียม ในปี 2015

เชื้อเพลิงที่นำไปสู่การเกิดไฟไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร

โรงงานทั้งหมดที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ และเกิดความเสียหายมากเหล่านี้ พบสาเหตุเหมือนกัน 2 ประการ

  • ประการแรก โรงงานเหล่านี้ ไม่ได้ติดตั้งระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ สปริงเกอร์ช่วยดับไฟได้ในระยะแรก หรืออย่างน้อยก็ช่วยควบคุมเพลิงไว้ได้จนกว่าพนักงานดับเพลิงจะมาถึง
  • ประการที่สอง แผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ใช้ติดตั้งในโรงงานเหล่านี้ มีความต้านทานไฟต่ำ แผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลดังกล่าว ไม่ได้รับการรับรองว่ามีคุณสมบัติช่วยลดการแพร่กระจายของเปลวไฟ แผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ผลิตจากวัสดุที่ไม่ได้รับการรับรองนี้มีส่วนทำให้ไฟลุกลามอย่างรวดเร็ว ไฟลามไปถึงอาคารที่อยู่ติดกัน แผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่เป็นเชื้อเพลิงเหล่านี้ ทำให้การดับเพลิงเป็นเรื่องยากและอันตรายมาก เมื่อไฟติด แผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ไม่ได้รับการรับรองนี้ ปล่อยควันดำที่เป็นพิษออกมาหนาแน่น เป็นอันตรายต่อพนักงานดับเพลิง

แม้ว่าจะไม่มีรายงานการเสียชีวิตของพนักงานในโรงงานในเหตุการณ์ข้างต้น แต่มีพนักงานดับเพลิงได้เสียชีวิตจากไฟไหม้ที่เกิดจากการติดตั้งแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ไม่ได้รับการรับรองในโรงงานแปรรูปอาหารเหล่านี้ และจากการเสียชีวิตของพนักงานดับเพลิงที่โรงงานแปรรูปสัตว์ปีกในประเทศอังกฤษในปี 1993 และที่โรงงานแปรรูปผักในปี 2007 ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษให้ความสำคัญกับอันตรายที่เกิดจากการติดตั้งแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ไม่ได้รับการรับรองในการก่อสร้างเหล่านี้

เรียนรู้จากอดีต

อันตรายที่เกิดจากการติดตั้งด้วยแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ไม่ได้รับการรับรองในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร ย้อนหลังไป 25 ปีก่อน หลังจากเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ที่โรงงานอุตสาหกรรมอาหารที่พบว่ามีโครงสร้างติดตั้งด้วยแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ไม่ได้รับการรับรองที่ติดไฟได้ และโรงงานไม่มีระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ ทำให้โรงงานเหล่านี้ประสบปัญหาต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูงในการทำประกันอัคคีภัย บริษัทประกันภัยเองก็ไม่อยากรับทำประกันให้กับโรงงานเหล่านี้ หลังจากที่โรงงานต้องทนทุกข์กับไฟไหม้หลายครั้งในหลายสิบปี Danish Crown ผู้บริหารโรงฆ่าหมูรายใหญ่ที่สุดของยุโรปเห็นเบี้ยประกันเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่า ทั้งยังถูกบังคับให้ต้องหักลดส่วนลดหย่อนรวมเป็นมูลค่าสูงมาก ด้วยเหตุนี้ บริษัทฯ จึงนำการบริหารความเสี่ยงเชิงรุกมาใช้ โดยมุ่งเน้น ควบคุมแหล่งกำเนิดประกายไฟ ห้ามโรงงานติดตั้งด้วยแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ไม่ผ่านการรับรอง และแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ปล่อยควันพิษในการก่อสร้างโรงงาน

มูลค่าความเสียหายโดยเฉลี่ย จากเหตุเพลิงไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร

ไฟไหม้ในอุตสาหกรรมอาหาร

จากการศึกษาเหตุไฟไหม้ในโรงงานผลิตอาหาร ศึกษาโดย FM Global รวมการเกิดเพลิงไหม้ทั้งสิ้น 88 ครั้งในระยะเวลา 5 ปี (2010 – 2014) พบว่า สำหรับโรงงานที่มีระบบสปริงเกอร์ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ มูลค่าความเสียหายโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 638,000 เหรียญสหรัฐ (ประมาณ 21 ล้านบาท) สำหรับโรงงานที่ไม่มีระบบสปริงเกอร์ หรือโรงงานที่มีระบบการป้องกันไฟไม่เพียงพอ มูลค่าความเสียหายโดยเฉลี่ยจะสูงถึง 9.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 312 ล้านบาท) มูลค่าความเสียหายสูงกว่าเกือบ 15 เท่า

สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ ที่ก่อให้เกิดมูลค่าความเสียหายสูงขนาดนี้ ของโรงงานเหล่านี้ เกิดจากสาเหตุที่คล้ายกัน 2 ประการคือ

  • (1) โรงงานเหล่านี้ไม่ได้ติดตั้งระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ และ
  • (2) โรงงานเหล่านี้ติดตั้งด้วยแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ติดไฟ ไม่ได้รับการรับรองจาก FM APPROVED

อย่างไรก็ดี ความเสียหายต่อทรัพย์สินไม่ได้เป็นปัญหาเพียงอย่างเดียว โรงงานเหล่านี้ต้องใช้เวลามากกว่า 18 เดือนในการก่อสร้างโรงงานขึ้นใหม่ บ่อยครั้ง ที่ผู้บริหารตัดสินใจที่จะไม่สร้างใหม่ แต่ย้ายการผลิตไปโรงงานในเครือนอกภูมิภาค หรืออาจย้ายไปต่างประเทศเลยก็มี

ในทางกลับกัน โรงงานที่ติดตั้งระบบสปริงเกอร์นำไปสู่ผลลัพธ์ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด—เช่นในกรณี เกิดเหตุไฟไหม้ที่โรงสีแป้งขนมปัง Rank Hovis ในปี 2015 ในเมืองแมนเชสเตอร์ ประเทศอังกฤษ ที่โรงสีนั่นติดตั้งระบบสปริงเกอร์ เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ สปริงเกอร์ช่วยดับไฟอัตโนมัติ หลังไฟไหม้ โรงสีแป้งยังสามารถเปิดทำการได้ในวันรุ่งขึ้น ด้วยว่าระบบสปริงเกอร์ที่โรงงานติดตั้งช่วยควบคุมการลุกลามของไฟ ไม่ก่อให้เกิดไฟไหม้ขนาดใหญ่

การปรับปรุงโรงงานเพื่อลดความเสี่ยง จากเหตุเพลิงไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร

บริษัทประกันภัยและรัฐบาลต่างแนะนำว่า โรงงานควรเปลี่ยนติดตั้งด้วยแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ได้รับการรับรอง และ/หรือติดตั้งระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ ตัวอย่างแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ได้รับการรับรอง เช่น แผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ผ่านการรับรองโดย FM APPROVED ที่มีระดับการทนไฟที่เหนือกว่าและแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ได้รับการรับรองนี้ สามารถป้องกันการแพร่กระจายของเปลวไฟเพื่อป้องกันหรือลดความรุนแรงจากเหตุไฟไหม้ อย่างไรก็ดี ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนติดตั้งพร้อมกันทั้ง 2 อย่าง สำหรับโรงงานคิดเป็นมูลค่าการลงทุนที่สูงมาก ทำให้แทบไม่เกิดการปรับเปลี่ยน ปรับปรุงแก้ไขแต่อย่างใด การเปลี่ยนติดตั้งด้วยแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ผ่านการรับรองโดย FM APPROVED อย่างเดียว ยังไม่ติดตั้งระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติ ข้อดี หากเกิดเพลิงไหม้ ความเสียหายจากไฟจะมีขนาดเล็กลง แต่ในระหว่างการติดตั้งแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนล โรงงานอาจต้องหยุดทำงาน ในทางกลับกัน การติดตั้งระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติจะช่วยจำกัดความเสียหายจากไฟไหม้ให้อยู่ในพื้นที่ขนาดเล็กเช่นกัน ส่งผลกระทบต่อการหยุดงานน้อยกว่า

การปรับปรุงมาตรการ และการติดตั้งระบบสปริงเกอร์เพื่อป้องกัน

 

Louis Gritzo, Ph.D., หัวหน้า FM Global แผนกงานวิจัย กล่าวว่า “การทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมงานดูแลมาตรการและมาตรฐานสากลของ FM Global ใน Frankfurt ที่รับผิดชอบประเมินความถี่ และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจากแนวโน้มของการเกิดเหตุเพลิงไหม้เหล่านี้ สามารถขับเคลื่อนนำไปสู่การปรับปรุงนโยบายและแนวทางปฏิบัติเพื่อการฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว” การติดตั้งระบบสปริงเกอร์เพื่อป้องกัน และการติดตั้งแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ผ่านการรับรองโดย FM APPROVED ในโรงงานอาหารขนาดใหญ่ต้องมีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม บริษัทที่เคยประสบเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ก็เลือกที่จะลงทุนติดตั้งระบบป้องกันเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น ที่ร้านเบเกอรี่ La Lorraine ในเบลเยียม หลังจากเกิดเพลิงไหม้ในปี 2008 โรงงานก็ถูกสร้างขึ้นใหม่พร้อมติดตั้งระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติเพื่อป้องกัน

 

เนื่องจากการปรับเปลี่ยนการติดตั้ง การเพิ่มระบบป้องกันเหล่านี้ สามารถวางแผนดำเนินการเพื่อให้เหมาะกับเงินทุนของบริษัทได้ คำถามคือ: คุณจะไม่ลงทุนติดตั้งแผ่นไอโซวอลล์ (ISOWALL) หรือแซนวิชพาแนลที่ผ่านการรับรองโดย FM APPROVED และระบบสปริงเกอร์อัตโนมัติเพื่อช่วยป้องกันเพลิงไหม้ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมอาหารขนาดใหญ่ของคุณได้หรือ?

เขียนโดย Bruce Bromage เจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสที่ปรึกษามาตรการและมาตรฐานสากลของ FM Global
ที่มา https://www.fmglobal.com/insights-and-impacts/2017/food-industry-fires