ซิลแลนท์รอยต่อ

รอยต่อแผ่นฉนวนทุกจุดของห้องเย็น ไม่ว่าจะเป็นที่มุมห้องหรือ รอยต่อระหว่างแผ่นฉนวน IXL ควรถูกยาแนวด้วยซิลแลนท์ (ชนิดไม่แข็งตัว) ทางฝั่งด้านนอกห้องหรือฝั่งที่อุณหภูมิสูงกว่า เพื่อป้องกันการรั่วซึมของความชื้นเข้ามาในห้อง ขณะการใช้งานอยู่ รอยต่อต่างๆ จะถูกปิดด้วยอลูมิเนียมและทำการยาแนวด้วยซิลิโคน เพื่อเก็บงานให้เรียบร้อย

  • ใช้ซิลแลนท์ปิดผนึกรอยต่อแผ่นฉนวนเพื่อป้องกันการก่อตัวของสิ่งสกปรกที่ไม่สามารถทำความสะอาดได้ง่ายตามรอยต่อต่างๆ
  • แม้ว่ามีการขยับตัวของแผ่นฉนวน การใช้ซิลแลนท์ตามรอยต่อช่วยให้แผ่นฉนวนไม่แยกออกจากกันหากแผ่นฉนวนมีการขยับตัว
  • ซิลแลนท์ไม่เสื่อมสภาพ หากแผ่นฉนวนมีการขยับตัว การใช้ซิลแลนท์ตามรอยต่อช่วยให้แผ่นฉนวนไม่แยกออกจากกัน
  • ซิลแลนท์ปิดรอยต่อได้สนิทตามตำแหน่งต่างๆ และตามความกว้างของรอยต่อ
  • ซิลแลนท์ปิดรอยต่อตามตำแหน่งต่างๆ มีความต้านทานต่อการสึกหรอ
  • ซิลแลนท์สามารถใช้ร่วมกับวัสดุที่ใช้ผลิตผิวของแผ่นฉนวนชนิดต่างๆ ได้
  • ซิลแลนท์ได้รับการออกแบบมา ไม่ให้มีสารตกค้างในอาหารที่เก็บไว้
  • ซิลแลนท์ทนทานต่อสารเคมีหากเกิดการรั่วไหล และทนทานต่อสารเคมีที่ใช้ทำความสะอาด
  • ซิลแลนท์ไม่เอื้อหรือส่งเสริมให้เกิดการเติบโตทางชีวภาพ
  • ซิลแลนท์ป้องกันการผ่านของไอน้ำได้ตามความเหมาะสม
  • ซิลแลนท์ให้ไอน้ำออกได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมทำให้เกิดการเกาะตัวของน้ำแข็งตามรอยต่อ

การป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำ

เพื่อป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำในบรรยากาศไม่ให้เข้าไปในเนื้อฉนวนของแผ่นฉนวนสำเร็จรูป และเพื่อการควบคุมระดับอุณหภูมิให้อยู่ในระดับที่ต้องการ การป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำจึงมีความจำเป็นยิ่ง ไม่มีการออกแบบใดจะสำคัญเกินกว่าการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อควบคุมอุณหภูมิของห้องเย็นที่มีการใช้งานต่ำกว่าศูนย์องศาเซลเซียส หากที่กั้นไอน้ำไม่มีประสิทธิภาพจะทำให้ไอน้ำซึมผ่าน เกิดการควบแน่น และเกิดการแข็งตัวภายในเนื้อฉนวนหรือพื้นผิวภายในในที่สุด ซึ่งจะมีผลทำให้เนื้อฉนวนบวมหรือยุบตัวได้

วัสดุที่ใช้ผลิตผิวของแผ่นฉนวนป้องกันไม่ให้มีการซึมผ่านของไอน้ำ อย่างไรก็ตาม แผ่นฉนวนทุกแผ่นที่เชื่อมต่อกันย่อมมีรอยต่อของแผ่นฉนวนเอง และรอยต่อระหว่างผนังกับพื้น ดังนั้น การออกแบบและติดตั้งต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันไม่ให้มีการซึมผ่านของไอน้ำได้

เกี่ยวกับความคิดเห็นเรื่องการปิดผนึกรอยต่อของแผ่นฉนวนในห้องเย็นมีหลากหลายมุมมอง บางกลุ่มแนะนำว่า ควรปิดผนึกรอยต่อของแผ่นฉนวนเฉพาะด้านที่มีระดับอุณหภูมิสูงกว่าเท่านั้น กล่าวคือ ไม่ควรปิดผนึกด้านในห้องเย็น ผู้ที่เห็นด้วยกับมุมมองนี้เชื่อว่า ไอน้ำที่จะซึมผ่านจากภายนอกจะซึมผ่านรอยต่อของแผ่นฉนวนไปยังขดลวดและระเหยไป ปัญหาเรื่องการซึมผ่านของไอน้ำมักพบกับแผ่นฝ้าเพดานที่มักจะประสบปัญหาการซึมผ่านของไอน้ำในระหว่างหรือหลังการลดอุณหภูมิเพื่อให้ห้องเย็นแข็งตัว

สำหรับห้องเย็นที่ก่อสร้างติดอยู่กับสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ห้องเย็นที่ใช้เป็นห้องบ่มเช่นห้องบ่มกล้วย หรือห้องที่ติดตั้งอุปกรณ์ในการแปรรูปอาหาร ต้องพิจารณาเรื่องสุขอนามัยร่วมด้วย การปิดผนึกของรอยต่อของแผ่นฉนวนต้องทำทั้งด้านในและด้านนอก มีความเป็นไปได้ที่การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิตามฤดูกาลจะทำให้เกิดความแตกต่างของความดันไอ ผิวด้านนอกของแผ่นฉนวนอาจมีระดับอุณหภูมิลดลง ทำให้ต้องปิดผนึกรอยต่อแผ่นฉนวนด้านใน ในสถานการณ์เหล่านี้การป้องกันการซึมผ่านของไอน้ำบนผิวด้านที่มีระดับอุณหภูมิสูงกว่ามีความสำคัญยิ่ง เพราะหากเกิดการรั่วไหลจะส่งผลให้มีน้ำขังในแผ่นฉนวนได้

ภาพแสดงรอยต่อแผ่นฉนวน

Finger_Joint (รอยต่อโฟมฉนวนกันความร้อน IXL)
รอยต่อโฟมฉนวนกันความร้อน IXL Finger Joint