การเคลื่อนย้ายและดูแลรักษาแผ่นฉนวน

การเคลื่อนย้าย

ควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษในการยกและเคลื่อนย้ายแผ่นฉนวน เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะบริเวณผิวหน้าและขอบรอยต่อแผ่นฉนวน หลีกเลี่ยงการผลักถูผิวหน้าของแผ่นฉนวนด้วยกันเอง เมื่อต้องการยกแผ่นทีละแผ่นควรปัดเช็ดเศษเหล็ก หรือขี้เลื่อยออกจากผิวหน้าแผ่นฉนวนทุกครั้งในทันที ที่มีการตัดแผ่นฉนวน (สามารถใช้เลื่อยวงเดือน หรือ จิ๊กซอว์ในการตัดผิวหน้าแผ่นฉนวน และใช้มีด, เลื่อย, หรือลวดร้อน ในการตัดเนื้อฉนวน)

การเก็บรักษา

ควรจัดเก็บแผ่นฉนวนในสถานที่ร่ม ซึ่งมีหลังคาปกคลุมและแห้ง ปราศจากน้ำท่วมขัง หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และต้องจัดเก็บภายนอกอาคาควรวางแผ่นฉนวนให้อยู่เหนือระดับพื้นและปิดคลุมแผ่นฉนวนด้วยแผ่นพลาสติก ควรมีหมอนรองเมื่อมีการวางแผ่นฉนวนซ้อนทับกัน

การทำความสะอาด

แผ่นฉนวนที่ถูกติดตั้งแล้ว สามารถทำความสะอาดได้ ด้วยวิธีการล้างด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำผสมสบู่หรือผงซักฟอกอ่อนๆ และล้างตามด้วยน้ำสะอาด น้ำมันสนหรือน้ำมันซักแห้งสามารถนำมาใช้เช็ดคราบน้ำมัน และรอยเปื้อนต่างๆ และควรล้างตามด้วยน้ำสะอาด ระวังการใช้น้ำยาทำความสะอาดเข้มข้น หรือ Solvents เพราะอาจทำให้ผิวแผ่นฉนวนเสียหายได้

การทำความสะอาดด้วยแรงดันน้ำ, การใช้น้ำร้อนหรือการอบไอน้ำ อาจทำให้เกิดความเสียหายกับผิวและเนื้อฉนวนได้ หากมีอุณภูมิเกิน 60 องศาเซลเซียสระวังการสะสมและขังตัวของน้ำตามแนวรอยต่อต่างๆ ของแผ่นฉนวนและห้องหากมีการล้างทำความสะอาดบ่อยครั้ง นอกจากนี้การทำความสะอาดมากเกินไปหรือมีการขัดถูแผ่นฉนวนบ่อยและแรงเกินไป จะก่อให้เกิดผลเสียในระยะยาวมากกว่าผลดี

ควันและไอเสียจากเครื่องให้ความร้อนต่างๆ และรถยนต์สามารถทำให้เกิดคราบและสีสกปรกติดที่ผิวแผ่นฉนวนอย่างถาวรได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงไม่ให้แผ่นฉนวนสัมผัสกับควันและไอเสียเป็นเวลานานเกินไป

การดูแลรักษาประตูห้องเย็น

  • ทำความสะอาดประตูรางเลื่อนทั้งภายในและภายนอก รวมถึงล้อลูกกลิ้งอย่างสม่ำเสมอ
  • ฉีดสารหล่อลื่นชิ้นส่วนต่างๆ ของประตูอย่างสม่ำเสมอ เช่น ล้อลูกกลิ้ง, รางเลื่อน, ที่จับภายในและภายนอก, ล็อค, บานพับ ฯลฯ
  • ตรวจสอบสกรูที่ยึดประตูว่าขันแน่นสนิท เปลี่ยนทันที หากพบว่าเสียหาย
  • ตรวจสอบการทำงานของประตู เครื่องทำความร้อน ตรวจสอบสายไฟฟ้า ปลั๊กไฟ และสายเสียบปลั๊กว่าเสียบแน่น ตรวจสอบพื้นผิวของประตูว่ามีความร้อนมากพอที่จะป้องกันน้ำแข็งเกาะได้
  • ตรวจสอบและทำความสะอาดบานประตู และบริเวณใกล้เคียง ประตูไม่ควรมีน้ำแข็งเกาะ หรือมีสิ่งกีดขวางหน้าประตู หากเกิดปัญหา ให้หาสาเหตุของปัญหาดังกล่าว หรือติดต่อช่างให้มาตรวจสอบ แก้ไขทันที

การดูแลและบำรุงรักษา วาล์วปรับแรงดันอากาศ (PRV)

  • ตรวจสอบการทำงานของขดลวดที่ให้ความร้อนอย่างสม่ำเสมอ หากทำงานไม่ปกติ เปลี่ยนทันที
  • ทำความสะอาดวาล์วปรับแรงดันอากาศ (PRV) และบริเวณใกล้เคียงทุกๆ สัปดาห์ ไม่ให้มีสิ่งสกปรก ป้องกันการก่อตัวของน้ำแข็ง ฯลฯ
  • ปิดการทำงานของขดลวดที่ให้ความร้อน เมื่อห้องเย็นไม่มีการใช้งาน หรืออุณหภูมิห้องสูงกว่า 0 องศาเซลเซียส

สำคัญ

  • ห้ามมิให้มีสิ่งใดกีดขวางการทำงานของวาล์วปรับแรงดันอากาศ (PRV) อย่างเด็ดขาด
  • ห้ามวางสิ่งของด้านหน้าวาล์วปรับแรงดันอากาศ (PRV)